วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สรุปบทที่ 5 ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลและฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์

คำสั่งในภาษาซี ล้วนอยู่ในรูปแบบของฟังก์ชั่นทั้งสิ้น ซึ่งอาจเป็น
 ฟังก์ชั่นมาตรฐาน ที่ภาษาซีได้จัดเตรียมไว้ให้แล้ว นอกจากนี้ ก็ยังมีฟังก์ชั่น  ที่เราสามารถเขียนขึ้น เพื่อใช้งานเอง
ตัวอย่างฟังก์ชั่นที่ภาษาซี จัดเตรียมมาให้ เช่น ฟังก์ชั่น printf() ที่นำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ข้อมูลเพื่อ แสดงผ่านทางจอภาพ หรือกรณี ต้องการรับค่าข้อมูลทางแป้นพิมพ์ ก็ต้องใช้ฟังก์ชั่น scant() เป็นต้น ที้งนี้การเรียกใช้ฟังก์ชั่นดังกล่าว จำเป็นต้องรู้ถึงรูปแบบการเขียน (Syntax)รวม ถึงต้องรู้ด้วยว่าฟังก์ชั่นที่ใช้งาน เหล่านี้ ประกาศใช้อยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ใด นอกจากฟังก์ชั่นทั้งสองแล้ว ภาษาซีก็ยังมีฟังก์ชันอื่นๆ ที่สามารถรำมาใช้เพื่อการแสดงผลข้อมูลและการรับผลข้อมูล

    

ฟังก์ชั่นการรับและแสดงผลข้อมูล

ในภาษาซี ได้เตรียมฟังก์ชั่น
เพื่อการรับและแสดงผลข้อมูลอยู่ หลายคำสั่งด้วยกัน ซึ่งสามารถนำมาเรียกใช้งานตามความเหมาะสม

  1. ฟังก์ชั่น printf
    ป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับแสดงผลข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ ข้อความ หรือค่าตัวแปร โดยที่

formatControlString  คือรูปแบบที่ นำมาใช้สำหรับควบคุมการพิมพ์ รวมถึงข้อความที่ต้องการสั่งพิมพ์ ซึ่งจะต้องอยู่ภายในเครื่องหมาย " "

Printf  คือตัวแปรที่นำมาพิมพ์ ซึ่งจะจับคู่กับ formatControlString ที่สัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง

นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถผนวกรหัสควบคุม (Escape Sequence) เข้าไปใน FormatControlString ได้อีก ซึ่งรหัสควบคุมเหล่านี้ จะเขียนด้วยเครื่องหมาย และตามด้วยรหัสควบคุม ทั้งนี้ต้องระมัดระวัง
ในเรื่องของการจับคู่ระหว่างรหัสรูปแบบขัอมูล ที่ต้องตรงกับชนิดตัวแปรสั่งพิมพ์






  2. ฟังก์ชั่น Scanf()
    เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับรับค่าข้อมูลจากทางแป้นพิมพ์ เพื่อจัดเก็บไว้ในตัวแปรนอกจากนี้ ในการรับข้อมูลทางแป้นพิมพ์ด้วยฟังก์ชั่น scanf() จะต้องพิจารณาสิ่งต่อไปนี้

   1. ถ้าข้อมูลที่รับ เป็นชนิดตัวเลข ซึ่งนำไปใช้ในการคำนวณได้ จะตัองใส่เครื่องหมาย & นำหนัาตัวแปรเสมอ

    2. ถ้าขัอมูลที่รับ เป็นข้อความ อาจไม่ต้องใส่เครื่องหมาย นำหน้าตัวแปรก็ได้

   




  3. ฟังก์ชั่น getchar()
    เป็นฟังก์ชั่นที่นำมาสำหรับรับค่าตัวอักษรหรืออักขระ ตัว โดยค่าที่ป้อนลงไปจะแสดงให้เห็นทางจอภาพ และจะต้องเคาะEnter เพื่อแสดงถึงการสิ้นสุดการป้อน
ข้อมูลด้วย กรณีที่มีการกรอกตัวอักษรมากกว่า ตัว จะมีเพียงอักษรตัวแรกเท่านั้น ที่จะถูกจัดเก็บไว้ในตัวแปร






    4. ฟังก์ชั่น putchar()

    เป็นฟังก์ชั่นที่ถูกนำมาใช้เพื่อสั่งพิมพ์ค่าตัวแปรอักขระ
ที่ถูกป้อนด้วย getchar() หรือนำมาพิมพ์หัสพิเศษได้






  5. ฟังก์ชั่น getch()  และ  getche()

     นอกจากนี้แล้ว ภาษาซียังมีฟังก์ชั่นที่นำมาใช้เพื่อการรับค่า ตัวอักขระอย่าง getch() และ getche() แต่ฟังก์ชั่นทั้งสองถูกประกาศใช้งานอยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์ <conio.h> ดังนั้น เมื่อต้องการใช้งานฟังก์ชั่นดังกล่าว จำเป็นต้องผนวกเฮดเดอร์ไฟล์<conio.h> ไว้ตรงส่วนหัวข้อโปแกรมด้วย

  

ฟังก์ชั่นจัดการจอภาพ

 สำหรับฟังก์ชั่นการจัดการจอภาพ ในที่นี้จะขอกล่าวถึง
ฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับการล้างหน้าจอ และฟังก์ชั่นที่ใช้กำหนด
ตำแหน่งบนจอภาพ

   

1. ฟังก์ชั่น clscr()

    เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับล้างจอภาพ โดยจะล้างข้อความเดิม บนจอภาพออกทั้งหมด

     

   2. ฟังก์ชั่น gotoxy()

     เป็นฟังก์ชั่นที่ใช้สำหรับกำหนดตำแหน่ง      เคอร์เซอร์บนจอภาพ บนหน้าจอแบบเท็กซ์  โหมด 

   

  ฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์

   ในบทที่ผ่านมา ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวดำเนินการทาง คณิตศาสตร์มาบ้างแล้ว ดังนั้น หากต้องการคำนวณหาเลข ยกกำลัง การหาค่ารากที่สองค่าตรีโกณมิติยาง sine, cos, tan จะต้องทำอย่างไร
   ในภาษาซี ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ดังกล่าว จะถูกประกาศใช้งานอยู่ใน เฮดเดอร์ไฟล์ ชื่อ <math.h> โดยเฉพาะเครื่องหมายยกกำลัง ซึ่งในภาษาระดับสูงทั่วไป มักจะใช้เครื่องหมาย หรือ ** แต่ภาษาซีจะใช้ฟังก์ชั่น pow() แทน ดังนั้น 2 ^ 5 หรือ 2 ** 5 จึงไม่สามารถนำมาใช้งานได้

อ้างอิง
หนังสือวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 2128-2009

 https://www.google.co.th/search?biw=1600&bih=780&tbm=isch&sa=1&q=%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C&oq=%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9F%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C&gs_l=img.3...29669.29669.0.30291.1.1.0.0.0.0.365.365.3-1.1.0....0...1c.1.64.img..0.0.0.cSmtVoKY0MI

สรุปบทที่ 4 นิพจน์และตัวดำเนินการ

นิพจน์ (Expression)
   นิพจน์ในที่นี้หมายถึง นิพจน์ทาง  คณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถพบเห็นได้จากสูตรการคำนวณตัวเลขต่างๆ ดังนั้น นิพจน์
จึงประกอบด้วย ตัวแปร ค่าคงที่ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์มาประกอบรวมกัน
   จากนิพจน์คณิตศาสตร์ข้างต้น พบว่า ทั้ง and, score และ incomeจะเป็นตัวแปรที่ใช้เก็บผลลัพธ์จากการคำนวณ ส่วนนิพจน์ด้านขวาก็จะเป็นนิพจน์
แบบหลายตัวแปร ซึ่งสามารถมีได้ทั้งตัวแปรและค่าคงที่ รวมถึงตัวดำเนินการคณิตศาสตร์  เช่น + - * / เป็นต้น ในการสร้างสูตรคำนวณค่าตัวเลข โดยเฉพาะสูตรคำนวณที่มีความซับซ้อน ต้องระมัดระวังในการจัด
ลำดับนิพจน์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์
ประมวลผลอย่างถูกต้อง ทั้งนี้
ตัวดำเนินการต่างๆ ที่นำมาใช้เพื่อการคำนวณนั้น แต่ละตัวจะมีลำดับความสำคัญที่แตกต่างกัน
   
   ตัวดำเนินการ (Operators)
ในภาษาซี มีตัวดำเนินการหลากหลายชนิด แต่ในที่นี้กล่าวถึงตัวดำเนินการพื้น
ฐานที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
  1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
  2. ตัวดำเนินการยูนารี
  3. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
  4. ตัวดำเนินการตรรกะ
  5. ตัวดำเนินการกำหนดค่า
    แบบผสม
  6. ตัวดำเนินการเงื่อนไข
  
  1. ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
    จัดเป็นตัวดำเนินการพื้นฐาน ที่นำมาใช้เพื่อการคำนวณ เช่น บวก ลบ คูณ หาญ และ โมดูลัส (หาญเพื่อเอาเศษ)

   
   2. ตัวดำเนินการยูนารี
  ตัวดำเนินการยูนารี ตัวแรกที่กล่าวถึง คือ เครื่องหมายลบ ที่นำ
มาใช้นำหน้าค่าตัวเลข หรือนำหน้า ค่าตัวแปร ซึ่งจะส่งผลให้ค่าถูก
เปลี่ยนเป็นค่าติดลบโดยทันที เช่น –10,-x เป็นต้น




  
   3. ตัวดำเนินการเปรียบเทียบ
   ในภาษาซีจะมีตัวกำเนินการที่นำมาใช้เพื่อการเปรียบเทียบค่า




   
  4. ตัวดำเนินตรรกะ
   นอกจากตัวดำเนินการเปรียบเทียบแล้ว เรายังสามารถนำตัวดำเนิน
การตรรกะมาใช้ร่วมกันได้




   
  5. ตัวดำเนินการกำหนดค่า
        จากความรู้ที่ผ่านมา ได้เรียนรู้ถึงการกำหนดค่าให้กับตัวแปรมาบ้างแล้ว แต่ในภาษาซี ยังมีตัวดำเนินการค่าแบบผสม (Compound Assignment Operators) ซึ่งประกอบด้วย +=, -=, *=, /= และ %=
   
   
6. ตัวดำเนินการเงื่อนไข
   ตัวดำเนินการเงื่อนไข จะนำมาทดสอบค่านิพจน์ทางตรรกะ ว่าจริง
หรือเท็จ 
   รูปแบบ
        expression 1  ?  expression 2  :  expression 3
โดยที่
  expression 1 หมายถึง นิพจน์เงื่อนไข
  expression 2 หมายถึง นิพจน์กรณีเป็นจริง
  expression 3 หมายถึง นิพจน์กรณีเป็นเท็จ
    
   ตัวดำเนินการกับลำดับความสำคัญ
ตัวดำเนินการแต่ละตัวจะมีลำดับ
ความสำคัญก่อนหลังที่แตกต่างกัน โดยการประมวลผลกระทำจากตัว
ดำเนินการที่มีลำดับความสำคัญสูงก่อน แต่ถ้ากรณีที่มีลำดับความ
สำคัญเท่ากัน ตามปกติจะกระทำ
กับตัวดำเนินการจากซ้ายไปขวา กล่าวคือ จะกระทำกับตัวดำเนินการ ที่พบก่อน
   

  การเปลี่ยนชนิดข้อมูล
ในภาษา ยังมีตัวดำเนินการที่ เรียกว่า การแคสต์ (Casting) เพื่อแปลงชนิดข้อมูลจากชนิดหนึ่ง มาเป็นอีกชนิดหนึ่งได้ วิธีทำคือ ให้ระบุชนิดข้อมูลที่ต้องการภายใน   เครื่องหมายวงเล็บ หน้านิพจน์ที่
ต้องการ

 อ้างอิง
หนังสือวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 2128-2009
https://www.google.co.th/search?biw=1600&bih=780&tbm=isch&sa=1&q=%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3&oq=%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3&gs_l=img.3..0i24k1.80671.80671.0.81110.1.1.0.0.0.0.93.93.1.1.0....0...1c.1.64.img..0.1.93.uvPC4VQqCCw 

สรุปบทที่ 3...องค์ประกอบของภาษาซี ตัวแปร และชนิดข้อมูล

ภาษาชีถูกพัฒนาขึ้นโดย เดนนิส ริตชี ที่ห้องปฏิบัติการเบลล์ ซึ่งมีต้นแบบมาจากภาษาบีที่อยู่บนรากฐานของภาษาบีซีพีแอล
         ทางสถาบัน ANSI ได้รับรองมาตรฐานภาษาซีขึ้นมา ภายใต้ชื่อ ANSI-C
 ปัจจุบันได้มีการพัฒนาภาษาซีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นเวอร์ชั่นต่างๆ มากมายด้วยการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็น C++ หรือ C# โดยได้เพิ่มชุดคำสั่งที่สนับสนุนการโปรแกรมเชิงวัตถุ และยังคงรองรับชุดคำสั่งมาตรฐานของภาษาซีดั้งเดิมอยู่ด้วย
ภาษาซีมีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าภาษาระดับสูงทั่วไปในหลายๆ ด้านด้วยกัน  คือ
    1.เป็นภาษาที่ไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์และระบบปฏิบัติการ                   
    2.เป็นภาษาที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก
    3.มีประสิทธิภาพสูง
    4.ความสามารถในด้านการโปรแกรมแบบโมดูล
    5.มีตัวแปรชนิดพอยน์เตอร์
    6.ภาษาซีมองตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่แตกต่างกัน ( Case Sensitive )
 โครงสร้างโปรแกรมในภาษาซี แบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
    1. ตัวประมวลผลก่อน ( Preprocessor Directive )
    2.ฟังก์ชันหลัก
    3.ชุดคำสั่ง
    4.คำอธิบายโปรแกรม
   กฎเกณฑ์ที่ต้องรู้ในการเริ่มต้นฝึกหัดเขียนโปรแกรมภาษาซี คือ
   1.ที่ส่วนหัวโปรแกรม จะต้องกำหนดตัวประมวลผลก่อนเสมอ
   2.ชุดคำสั่งในภาษาซี จะใช้อักษรตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด
   3.ตัวแปรที่ใช้งาน ต้องถูกประกาศชนิดข้อมูลไว้เสมอ
   4.ภายในโปรแกรม จะต้องมีอย่างน้อย 1 ฟังก์ชันเสมอ ซึ่งก็คือฟังก์ชัน  main() นั่นเอง
   5.สามารถใช้เครื่องหมายปีกกา {  เพื่อบอกจุดเริ่มต้นของชุดคำสั่ง และเครื่องหมายปีกกาปิด}
   6.เมื่อเขียนชุดคำสั่งเสร็จแล้วต้องจบด้วยเครื่องหมาย  ;
   7.สามารถอธิบายโปรแกรมตามความจำเป็นด้วยการใช้เครื่องหมาย/*…..*/หรือ //….
       ตัวแปร คือ ชื่อที่ตั้งขึ้นตามกฎการตั้งชื่อตัวแปร เพื่อนำมาใช้จัดเก็บข้อมูล และอ้างอิงใช้งานภายในโปรแกรม
     กฎเกณฑ์การตั้งตัวแปรในภาษาซี ประกอบด้วย
    1.สามรถใช้ตัวอักษร A ถึง Z หรือ a ถึง z รวมทั้งตัวเลข 0 ถึง 9 และเครื่องหมาย _( Underscore ) มาใช้เพื่อการตั้งชื่อตัวแปรได้ แต่มีเงื่อนไขว่า ห้ามใช้ตัวเลขนำหน้าชื่อตัวแปร ตัวอย่างเช่น 1digit ถือว่าผิด แต่ถ้าตั้งชื่อใหม่เป็น digit1 หรือ digit_1 ถือว่าถูกต้อง
    2.ชื่อตัวแปรสามารถมีความยาวได้ถึง 31 ตัวอักษร (กรณีเป็น ANSI-C )
    3.ชื่อตัวแปร จะต้องไม่ตรงกับคำสงวน ( RESERVEDคำอธิบาย: http://cdncache-a.akamaihd.net/items/it/img/arrow-10x10.pngWords )
     ชนิดข้อมูลตัวอักษร เป็นชนิดข้อมูลที่จัดเก็บตัวอักษรหรือตัวอักขระเพียง 1 ตัวเท่านั้นกรณีที่ต้องการจัดเก็บตัวอักขระหลายๆ ตัว เราจะเรียกกลุ่มข้อความนี้ว่า สตริง (String )      
     ชนิดข้อมูลแบบเลขจำนวนเต็ม หมายถึงค่าตัวเลขจำนวนเต็ม ไม่มีทศนิยม ซึ่งประกอบด้วย int และ long int แบบไม่มีทศนิยม นอกจากนี้ยังสามารถใช้คำเพิ่มเติมนำหน้าชนิดข้อมูลอย่าง short หรือ long ก็ได้
     ชนิดข้อมูลแบบทศนิยม หรือเลขจำนวนจริง คือ ค่าตัวเลขที่สามารถมีจุดทศนิยม โดยชนิดข้อมูลนี้สามารถกำหนดขนาดความกว้างตามความต้องการ เช่น float, double หรือ long double
     ตัวแปรแบบภายใน  จะ ถูกประกาศใช้งานเฉพาะฟังก์ชันนั้นๆ ดังนั้น หากตัวแปรแบบภายในของและฟังก์ชัน มีการกำหนดชื่อตัวแปรเหมือนกัน จะถือว่าเป็นตัวแปรคนละตัว
    ตัวแปรแบบภายนอก  ถือเป็นตัวแปรสาธารณะที่ทุกๆ โปรแกรมย่อยหรือทุกๆ ฟังก์ชันสามารถใช้งานได้ โดยจะถูกประกาศไว้ภายนอกฟังก์ชัน

      อ้างอิง
หนังสือวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 2128-2009
https://www.google.co.th/search?biw=1600&bih=780&tbm=isch&sa=1&q=%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B5+%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5&oq=%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B5+%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5&gs_l=img.3...55058.55058.0.55705.1.1.0.0.0.0.73.73.1.1.0....0...1c.1.64.img..0.0.0.1iu2ROV6k5o 

สรุปบทที่ 2 เรื่อง หลักการเขียนโปรแกรมภาษา C และการติดตั้งโปรแกรม Turbo C++

หลักการเขียนโปรแกรมภาษา ประกอบด้วย 
1.การสร้างโปรแกรม (Source Code)
2.การคอมไพล์โปรแกรม (Compile)
3.การเชื่อมโยงโปรแกรม (Link)
4.การสั่งรันโปรแกรม (Run)
1.การสร้างโปรแกรม (Source Code)
    ภาษา สามารถใช้โปรแกรมเอดิเตอร์  (เช่น Notepad) เพื่อสร้างโปรแกรมและบันทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .หรือ .cpp เช่น mysourec.cpp เป็นต้น อย่างไรก็ตาม
กรณีของโปรแกรม  Turbo C++ ตัวโปรแกรมจะเตรียมเครื่องมือช่วยในการเขียนโปรแกรมมาให้พร้อม
2.การคอมไพล์โปรแกรม (Compile)
     เมื่อ โปรแกรมถูกสร้างขึ้น ลำดับต่อไปก็คือจะทำการคอมไพล์โปรแกรมเพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาด โดยคอมไพเลอร์จะนำชุดคำสั่งที่มนุษย์เราเข้าใจ มาผ่านการแปลเป็นภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ ทั้งนี้หากโปรแกรมมีข้อผิดพลาด  ตัวคอมไพเลอร์จะแจ้งข่าวสารให้รับทราบว่าได้พบข้อผิดพลาดของคำสั่งนั้นๆ          
3.การเชื่อมโยงโปรแกรม (Link)                                                                          
 เมื่อได้ออบเจ็กต์ไฟล์ ซึ่งเป็นภาษาเครื่องแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การลิงค์ด้วยการนำออบเจ็กต์ไฟล์เชื่อมโยงเข้ากับไลบารี (Library) ที่เกี่ยวข้อง จนได้เอ็กซีคิวต์ไฟล์ (Executable File) การเชื่อมโยงโปรแกรมตามปกติตัวโปรแกรมจะทำการเชื่อมโยงให้เราโดยอัตโนมัติภายหลังจากการคอมไพล์โปรแกรมเสร็จเรียบร้อย
4.การสั่งรันโปรแกรม(Run)                                                                                                          เมื่อได้เอ็กซีคิวไฟล์แล้ว ไฟล์ดังกล่าว เราสามารถเรียกใช้งาน (ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อไฟล์)เพื่อสั่งรันหรือประมวลผลโปรแกรมทันที
อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)

    อินเตอร์ พรีเตอร์ เป็นตัวแปลภาษาที่จะแปลโปรแกรมแบบทีละคำสั่งพร้อมกับรันโปรแกรมไปในขณะ เดียวกัน หากไม่พบข้อผิดพลาดใดๆๆ ก็จะนำคำสั่งถัดไปมาแปลและรันต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งจบโปรแกรม หรือหากพบข้อผิดพลาดขึ้น โปรแกรมจะหยุดทำงานทันที แล้วจะแจ้งข่าวสารข้อผิดพลาดให้เรารับทราบทางจอภาพ

คอมไพเลอร์ (Compiler)
     คอมไพเลอร์ เป็นตัวแปลภาษาที่ทำงานแตกต่างจากอินเตอร์พรีเตอร์ กล่าวคือ วิธีการแปลของคอมไพเลอร์จะแปลแบบทั้งโปรแกรมเพียงครั้งเดียว หากแปลแล้วพบข้อผิดพลาดโปรแกรมจะไม่สามารถรันได้ ต้องกลับไปแก้ไขโปรแกรมให้ถูกต้อง แล้วคอมไพล์ใหม่จนกระทั่งไม่พบข้อผิดพลาดใดๆ


Turbo C++ เวอร์ชั่น 4.5 เป็นโปรแกรมที่รวมเอดิเตอร์และคอมไพเลอร์ไว้ในตัวเดียวกัน สามารถติดตั้งเพื่อใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows ได้ นอกจากนี้ตัวโปรแกรมยังมีขนาดเล็ก ทำงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เหมาะกับการนำมาใช้งานเพื่อฝึกหัดเขียนโปรแกรมได้เป็นอย่างดี เนื่องจากติดตั้งง่ายใช้งานสะดวก สามารถหาดาวน์โหลดมาใช้งานได้จากอินเทอร์เน็ต


ชนิดของข้อผิดพลาด
1.ข้อผิดพลาดที่เกิดจากไวยากรณ์ (Syntax Errors)
    ข้อผิดพลาดชนิดนี้ เกิดจากการใช้ไวยากรณ์หรือรูปแบบภาษาที่ผิด เช่น สะกดคำสั่งผิดแทนที่จะต้องพิมพ์คำสั่งว่า printf ก็พิมพ์เป็น Printf เป็นต้น
2.ข้อผิดพลาดที่เกิดจากตรรกะโปรแกรม (Logic Errors)
  ข้อ ผิดพลาดชนิดนี้ จัดเป็นข้อผิดพลาดที่เกิดจากตัวโปรแกรมเมอร์เอง เช่น การใช้ตรรกะในการสร้างเงื่อนไขที่ผิดพลาด หรือการสร้างสูตรคำนวณที่ผิด ส่งผลให้ผลลัพธ์ผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริง
3.ข้อผิดพลาดในขณะรันโปรแกรม (Runtime Errors)
  สำหรับข้อผิดพลาดแบบ Runtime นั้น คอมไพเลอร์จะไม่สามารถตรวจพบได้ เนื่องจากรูปแบบคำสั่งไม่ได้ผิดพลาดแต่อย่างใด ครั้นเมื่อข้อผิดพลาดชนิดนี้ถูกตรวจพบ โปรแกรมจะหยุดการทำงานทันที 

อ้างอิง
หนังสือวิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา 2128-2009
https://www.google.co.th/search?biw=1600&bih=780&tbm=isch&sa=1&q=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2+C+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1+Turbo+C%2B%2B&oq=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2+C+%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1+Turbo+C%2B%2B&gs_l=img.3...63676.63676.0.64665.1.1.0.0.0.0.84.84.1.1.0....0...1c.1.64.img..0.0.0.zPM3wwfqFTE